analyticstracking
หัวข้อนับถอยหลัง 15 วันก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. 59
นับถอยหลัง 15 วันก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
ประชาชนตั้งใจไปลงประชามติ และเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ เพิ่มสูงขึ้น
ชี้การดีเบตร่างฯและการไม่เห็นชอบร่างฯ ของแกนนำพรรคใหญ่ ไม่มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 อีก 15 วันจะถึงวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ กรุงเทพโพลล์
โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง
“ นับถอยหลัง 15 วันก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. 59” โดยเก็บ
ข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,581 คน พบว่า
 
                  เมื่อถามประชาชนว่าหากมีการดีเบตร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้มีผล
ต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.3
เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 28.3 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมาก
ถึงมากที่สุด ส่วนที่เหลือร้อยละ 14.4 ไม่แน่ใจ
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าการที่แกนนำจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่ ไม่รับ
ร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญมากน้อย
เพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.6 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่
ร้อยละ 17.6 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ส่วนร้อยละ 15.8 ไม่แน่ใจ
 
                 สำหรับความตั้งใจจะไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค. 59 ที่จะถึงนี้นั้น
ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.8 ตั้งใจว่าจะไป เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ร้อยละ 2.1
ขณะที่ร้อยละ 7.1
ตั้งใจว่าจะไม่ไป (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5) และร้อยละ 7.1 ยังไม่แน่ใจ (ลดลงร้อยละ 3.6)
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่าหากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.7 ระบุว่า “เห็นชอบ” เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งที่ผ่านมาร้อยละ 3.1
ขณะที่ร้อยละ
9.8 ระบุว่า “ไม่เห็นชอบ” (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6) ส่วนร้อยละ 12.2 ระบุว่า “งดออกเสียง” (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6) และมีถึงร้อยละ
33.3 ระบุว่า “ไม่แน่ใจ”
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อหากมีการดีเบตร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ
                 มากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 17.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 39.8)
57.3
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 23.6 และมากที่สุดร้อยละ 4.7)
28.3
ไม่แน่ใจ
14.4
 
 
             2. ความเห็นต่อการที่แกนนำจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้มีผลต่อการตัดสินใจ
                 รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 11.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 55.1)
66.6
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 13.4 และมากที่สุดร้อยละ 4.2)
17.6
ไม่แน่ใจ
15.8
 
 
             3. ความตั้งใจ จะไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค. 59

 
20 วัน ก่อน
ลงประชามติ
(ร้อยละ)
15 วัน ก่อน
ลงประชามติ
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น/ลดลง
(ร้อยละ)
ตั้งใจว่าจะไป
83.7
85.8
+ 2.1
ตั้งใจว่าจะไม่ไป
5.6
7.1
+ 1.5
ไม่แน่ใจ
10.7
7.1
- 3.6
 
 
             4. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ท่านจะเห็นชอบ
                 กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่”

 
20 วัน ก่อน
ลงประชามติ
(ร้อยละ)
15 วัน ก่อน
ลงประชามติ
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น/ลดลง
(ร้อยละ)
เห็นชอบ
41.6
44.7
+ 3.1
ไม่เห็นชอบ
7.2
9.8
+ 2.6
งดออกเสียง
11.6
12.2
+ 0.6
ไม่แน่ใจ
39.6
33.3
- 6.3
 
 
 
 
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                 1) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับความตั้งใจที่จะไปออกเสียงลงประชามติ
                 2) เพื่อสะท้อนความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
                 3) เพื่อต้องการทราบว่าการที่แกนนำจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้มีผลต่อการ
                     ตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด
                 4) เพื่อต้องการทราบว่าการดีเบตร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ
                     ของท่านมากน้อยเพียงใด
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 21 - 22 กรกฎาคม 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 23 กรกฎาคม 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
793
50.2
             หญิง
788
49.8
รวม
1,581
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
213
13.5
             31 – 40 ปี
393
24.9
             41 – 50 ปี
436
27.6
             51 – 60 ปี
328
20.7
             61 ปีขึ้นไป
211
13.3
รวม
1,581
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
991
62.7
             ปริญญาตรี
465
29.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
125
7.9
รวม
1,581
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
209
13.2
             ลูกจ้างเอกชน
373
23.6
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
652
41.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
62
3.9
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
204
12.9
             นักเรียน/ นักศึกษา
41
2.6
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
40
2.5
รวม
1,581
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776